บทเรียนที่ 25
เข้าใต้โต๊ะ

แอนนากำลังเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นที่ศาสตราจารย์ซุซุกิเป็นผู้สอน ปรากฏว่าอาคารเรียนเริ่มสั่นไหว
ประโยคสำคัญ:
TSUKUE NO SHITA NI HAIRE
บทสนทนา
先生 | 地震だ。みんな、落ち着いて。 机の下に入れ。 |
แผ่นดินไหว ทุกคนใจเย็น ๆ
เข้าใต้โต๊ะ
|
---|---|---|
อาจารย์ | JISHIN DA. MINNA, OCHITSUITE. TSUKUE NO SHITA NI HAIRE. แผ่นดินไหว ทุกคนใจเย็น ๆ
เข้าใต้โต๊ะ
|
|
先生 | 揺れは収まったようだ。 | แรงสั่นสะเทือนดูเหมือนหมดแล้ว
|
อาจารย์ | YURE WA OSAMATTA YÔ DA.
แรงสั่นสะเทือนดูเหมือนหมดแล้ว
|
|
アンナ | びっくりした。日本は本当に地震が多いですね。 | ตกใจ
ญี่ปุ่นมีแผ่นดินไหวเยอะจริง ๆ นะคะ
|
แอนนา | BIKKURI SHITA. NIHON WA HONTÔ NI JISHIN GA ÔI DESU NE.
ตกใจ
ญี่ปุ่นมีแผ่นดินไหวเยอะจริง ๆ นะคะ
|
หลักไวยากรณ์
YÔ DA / YÔ DESU
YÔDA คือ คำพูดแบบเป็นกันเองของคำว่า YÔ DESU บ่งชี้ว่าผู้พูดประเมินสถานการณ์และตัดสินสภาพที่เกิดขึ้นนั้นลงไปในระดับหนึ่ง คำกริยารูป MASU ใช้นำหน้า YÔDA ไม่ได้ แต่ใช้กริยารูป TA
e.g.) YURE WA OSAMATTA YÔDA แปลว่า “แรงสั่นสะเทือนดูเหมือนหมดแล้ว” *OSAMATTA แปลว่า “หมดลง” คือ รูป TA ของคำกริยา OSAMARIMASU
ความแตกต่างระหว่างคำช่วย WA กับ GA
WA คือ คำช่วยบ่งชี้หัวข้อ
GA คือ คำช่วยบ่งชี้ประธาน
หัวข้อหมายถึง โครงเรื่องของประโยคซึ่งใช้ WA เป็นตัวบ่งชี้ ส่วนประธานเกี่ยวข้องกับหัวข้อ และใช้ GA เป็นตัวบ่งชี้ หรือบางกรณีก็ใช้ WA ในส่วนภาคแสดงของประโยค จะแสดงสิ่งที่ประธานของประโยคกระทำหรือประธานของประโยคอยู่ในสภาพใดหรือสถานการณ์อะไร
e.g.) ZÔ WA HANA GA NAGAI. แปลว่า "ช้างงวงยาว"
คำเลียนเสียงและท่าทาง
แรงสั่นสะเทือน
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีคำเลียนเสียงธรรมชาติและท่าทางอยู่มากมาย คำลักษณะนี้ได้รับการอธิบายผ่านเสียง โดยครอบคลุมคำหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสียงร้องของสัตว์ไปจนถึงคำแสดงความรู้สึก
บันทึกของแอนนา
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว อย่างแรกที่ต้องทำคือ ฟังข่าวจากวิทยุหรือโทรทัศน์ ดิฉันได้รับการสั่งสอนมาให้ทำอย่างนั้นค่ะ
