เอ็นเอชเค เวิลด์ > มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ > หน้าแรกภาษาไทย > ครูสอนภาษาญี่ปุ่น > รูปคำสั่งของคำกริยา (บทเรียนที่ 25)

ครูสอนภาษาญี่ปุ่น

รูปคำสั่งของคำกริยา (บทเรียนที่ 25)

นี่เป็นวิธีการผันคำกริยารูป MASU ให้เป็นรูปคำสั่ง
อันดับแรก คำกริยาที่ลงท้ายด้วยสระ E ในพยางค์หน้า MASU ให้เปลี่ยน MASU เป็น RO ตัวอย่างเช่น คำกริยาที่แปลว่า “กิน” TABEMASU กลายเป็นTABERO อันดับต่อไป สำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยสระ I ในพยางค์หน้า MASU มี 2 รูปแบบ

รูปแบบแรก คือ เปลี่ยน MASU เป็น RO คำกริยาที่แปลว่า “ตื่น” คือ OKIMASU กลายเป็นOKIRO

อีกรูปแบบคือ ตัด MASU และเปลี่ยนสระในพยางค์หน้า MASU เป็น E คำว่า HAIRIMASU (เข้า) ซึ่งเป็นคำกริยาในบทสนทนา ใช้รูปแบบนี้ คือ ผันเป็น HAIRE

แต่คำกริยาที่แปลว่า “มา” KIMASU เป็นกรณียกเว้น ผันเป็น
KOI

รูปคำสั่งมีความหมายแรง ส่วนใหญ่แล้ว ผู้พูดประโยคคำสั่งมักเป็นผู้ชายพูดกับเพื่อนสนิทหรือเด็ก ๆ โดยสั่งให้ทำอะไรบางอย่าง ปกติแล้ว ผู้หญิงมักไม่ใช้รูปคำสั่ง

รูปคำสั่งที่สุภาพที่ใช้ได้ทั้งชายและหญิง ก็คือ ตัด MASU ในคำกริยารูป MASU และพูดว่า NASAI แทน
TABEMASU (กิน) ผันเป็น TABENASAI และ
HAIRIMASU (เข้า) ผันเป็น HAIRINASAI
*ออกจากเว็บไซต์ของ NHK