บทเรียนที่ 7
มีชูครีมไหมคะ

แอนนากับซะกุระไปที่ร้านเค้ก
ประโยคสำคัญ:
SHÛKURÎMU WA ARIMASU KA
บทสนทนา
アンナ | ケーキがいっぱいありますね。 | มีเค้กเยอะแยะนะคะ
|
---|---|---|
แอนนา | KÊKI GA IPPAI ARIMASU NE.
มีเค้กเยอะแยะนะคะ
|
|
さくら | すみません、シュークリームはありますか。 | ขอโทษค่ะ มีชูครีมไหมคะ
|
ซะกุระ | SUMIMASEN, SHÛKURÎMU WA ARIMASU KA.
ขอโทษค่ะ มีชูครีมไหมคะ
|
|
店員 | はい、こちらです。 | ค่ะ ทางนี้ค่ะ
|
พนักงานที่ร้าน | HAI, KOCHIRA DESU.
ค่ะ ทางนี้ค่ะ
|
|
さくら | シュークリームを2つください。 | ขอชูครีม 2 ชิ้นค่ะ
|
ซะกุระ | SHÛKURÎMU O FUTATSU KUDASAI.
ขอชูครีม 2 ชิ้นค่ะ
|
หลักไวยากรณ์
TSU: ลักษณนามสำหรับการนับสิ่งต่าง ๆ
วิธีนับจำนวนจากหนึ่งถึงสิบเมื่อมีลักษณนาม TSU ต่อท้าย กรุณาไปที่ "ข้อมูลเสริมการเรียน"
ครูสอนภาษาญี่ปุ่น
วิธีใช้คำกริยา ARIMASU
ARIMASU (มี, อยู่) เป็นคำกริยาแสดงสภาวะ ซึ่งใช้อธิบายสถานะของสิ่งต่าง ๆ ARIMASU จะตามหลัง GA ซึ่งเป็นคำช่วยบ่งชี้ประธานของประโยค
คำเลียนเสียงและท่าทาง
กิน
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีคำเลียนเสียงธรรมชาติและท่าทางอยู่มากมาย คำลักษณะนี้ได้รับการอธิบายผ่านเสียง โดยครอบคลุมคำหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสียงร้องของสัตว์ไปจนถึงคำแสดงความรู้สึก
บันทึกของแอนนา
KUDASAI เป็นคำที่มีประโยชน์ ถ้าดิฉันชี้ไปที่อะไรที่ดิฉันอยากจะซื้อ และพูดว่า KORE O KUDASAI แปลว่า “ขออันนี้ค่ะ” ดิฉันก็ซื้อของได้ ถึงแม้ไม่รู้จักชื่อของสิ่งนั้นก็ตาม
