เอ็นเอชเค เวิลด์ > มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ > หน้าแรกภาษาไทย > ครูสอนภาษาญี่ปุ่น > คำกริยารูปแสดงความตั้งใจ (บทเรียนที่ 26)

ครูสอนภาษาญี่ปุ่น

คำกริยารูปแสดงความตั้งใจ (บทเรียนที่ 26)

GANBARÔ แปลว่า “พยายามกัน” เป็นรูปผันของคำกริยาที่เรียกกันว่า “รูปแสดงความตั้งใจ” ของผู้พูด นอกจากนี้ ใช้คำกริยานี้เพื่อชวนผู้ฟังให้
ทำอะไรบางอย่างด้วยกัน เราไม่ใช้คำนี้กับผู้ที่มีสถานะสูงกว่า

ต่อไปคือคำอธิบายวิธีผันคำกริยารูป MASU ให้เป็นรูปแสดงความตั้งใจของผู้พูด ก่อนอื่น ถ้าสระของพยางค์หน้า
MASU ลงท้ายด้วย E ให้เปลี่ยน MASU เป็น YÔ ตัวอย่างเช่น TABEMASU (กิน) กลายเป็น TABEYÔ แปลว่า “กินกัน" หรือ "ฉันจะกิน”

ต่อไป ถ้าสระในพยางค์หน้า MASU ลงท้ายด้วย I จะมีสองรูปแบบด้วยกัน

รูปแบบแรก เปลี่ยน MASU เป็น YÔ เช่น OKIMASU (ตื่น) ผันเป็น OKIYÔ แปลว่า “ตื่นกัน" หรือ "ฉันจะตื่น” ส่วน SHIMASU (ทำ) ผันเป็น SHIYÔ แปลว่า “ทำกัน" หรือ "ฉันจะทำ”

อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ตัด MASU เปลี่ยนสระ I ในพยางค์หน้า MASU เป็น O และเติม U ตัวอย่างเช่น GANBARIMASU แปลว่า “จะพยายาม” ในบทสนทนาวันนี้ ผันเป็น R GANBARÔ แปลว่า “พยายามกัน” ควรระวังว่าการออกเสียงที่ถูกต้อง คือ GANBARÔ ถึงแม้สะกดว่า GA N BA RO U ก็ตาม

มีกรณียกเว้นคือ KIMASU (มา) ผันเป็น
KOYÔ.
กรุณาไปที่ "ข้อมูลเสริมการเรียน"
*ออกจากเว็บไซต์ของ NHK