เอ็นเอชเค เวิลด์ > มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ > หน้าแรกภาษาไทย > ครูสอนภาษาญี่ปุ่น > อธิบายวิธียกตัวอย่างโดยใช้คำว่า TARI (บทเรียนที่ 37)

ครูสอนภาษาญี่ปุ่น

อธิบายวิธียกตัวอย่างโดยใช้คำว่า TARI (บทเรียนที่ 37)

เมื่อเรายกตัวอย่าง 2 หรือ 3 ตัวอย่างจากการกระทำหลาย ๆ อย่าง ใช้กริยารูป TA และต่อท้ายด้วย RI ตามลำดับ และลงท้ายประโยคด้วย เช่น SHIMASU (ทำ) หรือ SHIMASHITA (ทำ) เป็นรูปอดีต หรือ SHITAI DESU แปลว่า “ต้องการทำ”
ในบทสนทนานี้ แอนนาทำหลายอย่างในชิซุโอะกะ เธอยกตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง คือ ดูภูเขาฟูจิและกินซูชิ และเล่าให้คุณแม่ประจำหอพักฟัง

เมื่อแอนนาพูดถึงภูเขาฟูจิ เธอใช้รูป TA ของคำกริยา MIMASU แปลว่า “ดู” MITA จากนั้น เติม RI ต่อท้าย และพูดว่า MITARI เมื่อพูดถึงซูชิ แอนนาใช้รูป TA ของคำกริยา TABEMASU (กิน) ซึ่งได้แก่ TABETA
เติม RI ต่อท้าย และพูดว่า TABETARI

เมื่อนำมารวมกัน จะได้ว่า “ได้ดูภูเขาฟูจิบ้าง ได้กินซูชิบ้างค่ะ” คือ FUJI-SAN O MITARI, OSUSHI O TABETARI SHIMASHITA.

แอนนาทำสิ่งเหล่านี้และอีกหลายอย่างช่วงที่ไปเที่ยวชิซุโอกะ
ถ้าใช้ TARI ในการลำดับสิ่งที่ทำทั้งในปัจจุบันและอดีต แปลความหมายได้ว่า
ทำสิ่งอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ TARI ยังใช้ในบทบาทที่ต่างออกไป
ด้วย ถ้าลำดับชุดการกระทำที่ตรงกันข้ามกันโดยใช้ TARI แปลว่าทำสิ่ง
เหล่านั้นซ้ำ ๆ กัน ตัวอย่างเช่น “ไป ๆ มา ๆ” คือ ITTARI KITARI SHIMASU
ส่วนประโยคว่า “เปิด ๆ ปิด ๆ” คือ TSUKETARI KESHITARI SHIMASU
*ออกจากเว็บไซต์ของ NHK