บทเรียนที่ 44
หลังจากกินขนมญี่ปุ่นแล้วดื่มชาเขียวมัตชะครับ

หลังจากไปเที่ยวชมปราสาทฮิเมะจิแล้ว แอนนาไปร่วมพิธีชงชาญี่ปุ่นที่เรือนชงชาใกล้ปราสาท
ประโยคสำคัญ:
WAGASHI O TABETE KARA, MACCHA O NOMIMASU.
บทสนทนา
アンナ | 和菓子はとても甘いですね。 | ขนมญี่ปุ่นหวานมากนะคะ
|
---|---|---|
แอนนา | WAGASHI WA TOTEMO AMAI DESU NE.
ขนมญี่ปุ่นหวานมากนะคะ
|
|
先生 | 和菓子を食べてから、抹茶を飲みます。 抹茶は苦いかもしれません。 |
หลังจากกินขนมญี่ปุ่นแล้วดื่มชาเขียวมัตชะครับ มัตชะอาจจะขมครับ |
อาจารย์ | WAGASHI O TABETE KARA, MACCHA O NOMIMASU. MACCHA WA NIGAI KAMOSHIREMASEN. หลังจากกินขนมญี่ปุ่นแล้วดื่มชาเขียวมัตชะครับ
มัตชะอาจจะขมครับ
|
|
アンナ | 先生、足がしびれました。いたたたた。 | อาจารย์คะ เท้าเป็นเหน็บชาค่ะ
โอ๊ย โอ๊ย
|
แอนนา | SENSEI, ASHI GA SHIBIREMASHITA. ITATATATA.
อาจารย์คะ เท้าเป็นเหน็บชาค่ะ
โอ๊ย โอ๊ย
|
หลักไวยากรณ์
KAMOSHIREMASEN
KAMOSHIREMASEN (อาจจะ_)
e.g.) NIGAI KAMOSHIREMASEN. (อาจจะขมค่ะ)
ครูสอนภาษาญี่ปุ่น
คำกริยารูป TE + KARA
ในบทเรียนที่ 16 เราได้เรียนวิธีแสดงการกระทำมากกว่าหนึ่งเหตุการณ์ในประโยคเดียวด้วยการเชื่อมกริยารูป TE ถ้าเติมคำช่วย KARA แปลว่า "หลังจาก" ตามหลังคำกริยารูป TE ก็จะทำให้ดูชัดเจนว่าการกระทำหน้า KARA เกิดก่อน และการกระทำหลัง KARA เกิดตามมา การแต่งประโยคลักษณะนี้เป็นการเน้นลำดับการกระทำก่อนหลัง
คำเลียนเสียงและท่าทาง
เหน็บชา
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีคำเลียนเสียงธรรมชาติและท่าทางอยู่มากมาย คำลักษณะนี้ได้รับการอธิบายผ่านเสียง โดยครอบคลุมคำหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสียงร้องของสัตว์ไปจนถึงคำแสดงความรู้สึก
บันทึกของแอนนา
นั่งคุกเข่าแบบญี่ปุ่นนี่ยากค่ะ ได้ยินมาว่าถ้าจะไม่ให้ขาเป็นเหน็บชา ควรนั่งให้หัวแม่เท้าทั้งสองข้างทับกัน คราวหน้าจะลองทำดูค่ะ
