บทเรียนที่ 37
ได้ดูภูเขาฟูจิบ้าง ได้กินซูชิบ้างค่ะ
แอนนากลับจากชิซุโอะกะไปถึงหอพักของเธอที่กรุงโตเกียว แอนนาเล่าเรื่องการเดินทางของเธอให้คุณแม่ประจำหอพักฟัง
ประโยคสำคัญ:
FUJISAN O MITARI, OSUSHI O TABETARI SHIMASHITA
บทสนทนา
寮母 | 旅行はどうだった? | การไปเที่ยวเป็นยังไง
|
---|---|---|
คุณแม่ประจำหอพัก | RYOKÔ WA DÔ DATTA?
การไปเที่ยวเป็นยังไง
|
|
アンナ | 富士山を見たり、おすしを食べたりしました。楽しかったです。 | ดูภูเขาฟูจิบ้าง กินซูชิบ้างค่ะ
สนุกค่ะ
|
แอนนา | FUJISAN O MITARI, OSUSHI O TABETARI SHIMASHITA. TANOSHIKATTA DESU. ดูภูเขาฟูจิบ้าง กินซูชิบ้างค่ะ
สนุกค่ะ
|
|
寮母 | それはよかったわね。 | นั่นดีจังนะ
|
คุณแม่ประจำหอพัก | SORE WA YOKATTA WA NE.
นั่นดีจังนะ
|
หลักไวยากรณ์
WA DÔ DATTA?
DATTA คือรูปเป็นกันเองของ DESHITA ซึ่งจบประโยคด้วยรูปอดีต
e.g.) SHIKEN WA DÔ DATTA? (การสอบเป็นยังไง)
ครูสอนภาษาญี่ปุ่น
อธิบายวิธียกตัวอย่างโดยใช้คำว่า TARI
เมื่อเรายกตัวอย่าง 2 หรือ 3 ตัวอย่างจากการกระทำหลาย ๆ อย่าง ใช้กริยารูป TA และต่อท้ายด้วย RI ตามลำดับ และลงท้ายประโยคด้วย เช่น SHIMASU (ทำ) หรือ SHIMASHITA (ทำ) เป็นรูปอดีต หรือ SHITAI DESU แปลว่า “ต้องการทำ”
คำเลียนเสียงและท่าทาง
ความอ่อนเพลีย
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีคำเลียนเสียงธรรมชาติและท่าทางอยู่มากมาย คำลักษณะนี้ได้รับการอธิบายผ่านเสียง โดยครอบคลุมคำหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสียงร้องของสัตว์ไปจนถึงคำแสดงความรู้สึก
บันทึกของแอนนา
“ของฝากสำหรับคุณแม่ประจำหอพักคือ คุ้กกี้ชาเขียวชิซุโอะกะค่ะ เลือกยากจังเลยนะคะ มีทั้งลูกอมรสชา ช็อกโกแลตชาและขนมอีกหลายชนิด คนญี่ปุ่นช่างออกแบบของที่ระลึกเก่งจังเลยค่ะ”
