บทเรียนที่ 29
พอดูใกล้ ๆ ก็ใหญ่นะคะ

แอนนาไปเที่ยวเมืองชิซุโอะกะ บ้านเกิดของซะกุระ วันนี้เค็นตะลูกพี่ลูกน้องของซะกุระพาแอนนาไปเที่ยวชมมุมสวย ๆ ของภูเขาฟูจิ
ประโยคสำคัญ:
CHIKAKU DE MIRU TO, ÔKII DESU NE
บทสนทนา
アンナ | 富士山だ。 近くで見ると、大きいですね。 |
ภูเขาฟูจิ พอดูใกล้ ๆ ก็ใหญ่นะคะ
|
---|---|---|
แอนนา | FUJISAN DA. CHIKAKU DE MIRU TO, ÔKII DESU NE.
ภูเขาฟูจิ พอดูใกล้ ๆ ก็ใหญ่นะคะ
|
|
アンナ | あれ。雲の形が帽子みたいです。 | อ้าว รูปร่างของเมฆดูเหมือนหมวกค่ะ
|
แอนนา | ARE. KUMO NO KATACHI GA BÔSHI MITAI DESU.
อ้าว รูปร่างของเมฆดูเหมือนหมวกค่ะ
|
|
健太 | あの雲が見えると、雨が降るんだよ。 | พอเห็นเมฆโน้น ฝนก็จะตกนะ
|
เค็นตะ | ANO KUMO GA MIERU TO, AME GA FURU N DA YO.
พอเห็นเมฆโน้น ฝนก็จะตกนะ
|
หลักไวยากรณ์
TO
ถ้าคำช่วย TO ตามหลังกริยา จะเป็นการบ่งชี้เงื่อนไข กริยาที่ใช้นั้นจะเป็นรูปพจนานุกรม หรือรูป NAI นำหน้า TO
e.g.) ANO KUMO GA MIERU TO, AME GA FURIMASU.
(พอเห็นเมฆโน้น ฝนก็จะตกครับ)
ครูสอนภาษาญี่ปุ่น
N DA ใช้เพื่ออธิบายบางสิ่งบางอย่าง
รูปพื้นฐานของ N DA คือ NO DA พูดว่า NO DA ที่ท้ายประโยคเมื่อต้องการอธิบายว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ทำไม หรือสถานการณ์อะไร ในการสนทนาแบบเป็นกันเองนั้น ใช้ N DA แต่ถ้าจะพูดแบบสุภาพ ให้พูดว่า N DESU
คำเลียนเสียงและท่าทาง
ฝน
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีคำเลียนเสียงธรรมชาติและท่าทางอยู่มากมาย คำลักษณะนี้ได้รับการอธิบายผ่านเสียง โดยครอบคลุมคำหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสียงร้องของสัตว์ไปจนถึงคำแสดงความรู้สึก
บันทึกของแอนนา
“ภูเขาฟูจิที่มีเมฆปกคลุมอยู่ ก็แลดูสวยงามนะคะ
เค็นตะพยากรณ์อากาศได้ด้วยรูปทรงของเมฆ เขารู้เยอะจังค่ะ
เค็นตะเป็นคนที่พึ่งพาได้”
