เอ็นเอชเค เวิลด์ > มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ > หน้าแรกภาษาไทย > รายชื่อบทเรียนทั้งหมด > บทเรียนที่ 2

บทเรียนที่ 2

นี่คืออะไรคะ

แอนนา นักศึกษาต่างชาติจากเมืองไทยแนะนำตัวกับซะกุระ ติวเตอร์ของเธอ แอนนายื่นของบางอย่างให้ซะกุระ

บทเรียนที่ 2 (10 นาที)

ประโยคสำคัญ:

KORE WA NAN DESU KA

บทสนทนา

アンナ さくらさん。はい、どうぞ。 คุณซะกุระ ค่ะ เชิญค่ะ
แอนนา SAKURA-SAN. HAI, DÔZO.
คุณซะกุระ ค่ะ เชิญค่ะ
さくら これは何ですか。 นี่คืออะไรคะ
ซะกุระ KORE WA NAN DESU KA.
นี่คืออะไรคะ
アンナ それはタイのお土産です。 นั่นคือของฝากจากเมืองไทยค่ะ
แอนนา SORE WA TAI NO OMIYAGE DESU.
นั่นคือของฝากจากเมืองไทยค่ะ
さくら ありがとうございます。 ขอบคุณค่ะ
ซะกุระ ARIGATÔ GOZAIMASU.
ขอบคุณค่ะ
アンナ どういたしまして。 ไม่เป็นไรค่ะ
แอนนา DÔITASHIMASHITE.
ไม่เป็นไรค่ะ

หลักไวยากรณ์

A NO B

NO คือคำช่วยที่เชื่อมคำนาม 2 คำเข้าด้วยกัน ในภาษาญี่ปุ่น คำขยายจะอยู่ข้างหน้าคำนาม เช่น TOKYO NO OMIYAGE  (ของฝากจากโตเกียว)

ครูสอนภาษาญี่ปุ่น

ประโยคสำหรับการถามคำถาม
เมื่อถามคำถามเป็นภาษาญี่ปุ่น จะไม่เปลี่ยนลำดับของคำ เพียงแต่เติมคำช่วย KA ไว้ท้ายประโยค และพูดด้วยเสียงสูง ดังนั้น KORE WA OMIYAGE DESU ซึ่งแปลว่า "นี่คือของฝากครับ" เมื่อกลายเป็นประโยคคำถามก็จะพูดว่า KORE WA OMIYAGE DESU KA แปลว่า “นี่คือของฝากใช่ไหมครับ”

คำเลียนเสียงและท่าทาง

เดิน
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีคำเลียนเสียงธรรมชาติและท่าทางอยู่มากมาย คำลักษณะนี้ได้รับการอธิบายผ่านเสียง โดยครอบคลุมคำหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสียงร้องของสัตว์ไปจนถึงคำแสดงความรู้สึก

บันทึกของแอนนา

ความฝันของซะกุระซังคือ การสอนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศ แต่ความฝันของฉัน คือการอ่านมังงะในภาษาญี่ปุ่น ฉันก็ได้แต่เรียน เรียน เรียน แล้วก็เรียน!

Anna

รายชื่อบทเรียนทั้งหมด

*ออกจากเว็บไซต์ของ NHK