บทเรียนที่ 1
ดิฉันคือแอนนาค่ะ

แอนนาเป็นนักศึกษาต่างชาติจากประเทศไทย วันนี้แอนนาไปพบกับติวเตอร์ของเธอชื่อว่า ซะกุระ เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัย
ประโยคสำคัญ:
WATASHI WA ANNA DESU
บทสนทนา
アンナ | はじめまして。私はアンナです。 | สวัสดีค่ะ ดิฉันคือแอนนาค่ะ |
---|---|---|
แอนนา | HAJIMEMASHITE. WATASHI WA ANNA DESU. สวัสดีค่ะ ดิฉันคือแอนนาค่ะ
|
|
さくら | はじめまして。さくらです。 | สวัสดีค่ะ ดิฉันคือซะกุระค่ะ |
ซะกุระ | HAJIMEMASHITE. SAKURA DESU. สวัสดีค่ะ ดิฉันคือซะกุระค่ะ
|
|
アンナ | よろしくお願いします。 | ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
|
แอนนา | YOROSHIKU ONEGAI SHIMASU.
ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
|
|
さくら | こちらこそ。 | ทางนี้ก็เช่นกันค่ะ
|
ซะกุระ | KOCHIRAKOSO.
ทางนี้ก็เช่นกันค่ะ
|
หลักไวยากรณ์
A WA B DESU
(A คือ B ค่ะ/ครับ)
WA คือคำช่วยที่ใช้บ่งชี้หัวข้อการสนทนา
DESU ที่ต่อจาก B เมื่อรวมกันแล้วจะเป็นภาคแสดงของประโยค เช่น WATASHI WA ANNA DESU (ดิฉันคือแอนนาค่ะ)
ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษร 3 แบบ คือ ฮิระงะนะ คะตะกะนะ และคันจิ แต่ละแบบมีบทบาทของตัวเอง
ครูสอนภาษาญี่ปุ่น
ระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่นมีตัวเขียนสามแบบ แต่ละแบบก็มีบทบาทของตัวเอง เมื่อเขียนว่า “ดิฉันคือแอนนาค่ะ” WATASHI WA ANNA DESU คำนามหรือคำสรรพนาม เช่น คำว่า “ดิฉัน” WATASHI เขียนเป็นตัวคันจิ
คำเลียนเสียงและท่าทาง
PON
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีคำเลียนเสียงธรรมชาติและท่าทางอยู่มากมาย คำลักษณะนี้ได้รับการอธิบายผ่านเสียง โดยครอบคลุมคำหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสียงร้องของสัตว์ไปจนถึงคำแสดงความรู้สึก
บันทึกของแอนนา
เมื่อคนญี่ปุ่นทักทายกัน ทุกคนจะโค้งคำนับกันและกัน แทบไม่ค่อยมีใครจับมือกัน คล้าย ๆ กับที่เมืองไทยนะคะ
