เอ็นเอชเค เวิลด์ > มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ > หน้าแรกภาษาไทย > ครูสอนภาษาญี่ปุ่น > วิธีใช้ DESHÔ (บทเรียนที่ 43)

ครูสอนภาษาญี่ปุ่น

วิธีใช้ DESHÔ (บทเรียนที่ 43)

ใช้ DESHÔ ลงท้ายประโยคเมื่อพูดถึงแนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือบางสิ่งที่ไม่แน่นอน และถ้าใช้คำนี้รวมกับคำนามหรือคำคุณศัพท์ ให้แทนที่ DESU ตอนท้ายประโยคด้วย DESHÔ

ตัวอย่าง เช่น “พรุ่งนี้ฝนคงจะตกครับ” “พรุ่งนี้” คือ ASHITA “ฝน” คือ AME “พรุ่งนี้ฝนจะตกครับ” คือ ASHITA WA AME DESU ถ้าเราแทนที่ DESU ด้วย DESHÔ จะได้ว่า ASHITA WA AME DESHÔ แปลว่า “พรุ่งนี้ฝนคงจะตกครับ”

เมื่อใช้คำนี้รวมกับคำกริยา ให้เปลี่ยนกริยานั้น ๆ เป็นรูปธรรมดา เช่น รูปพจนานุกรมหรือรูป NAI และเติม DESHÔ ลองฝึกแต่งประโยค “เขาคงจะไปครับ” ก่อนอื่น คำว่า “เขา” คือ KARE “ไป” หรือ "จะไป" คือ IKIMASU ดังนั้น พูดว่า KARE WA IKIMASU รูปพจนานุกรมของคำกริยา IKIMASU คือ IKU ดังนั้น "เขาคงจะไปครับ" จะพูดว่า KARE WA IKU DESHÔ

ในบทเรียนบทที่ 25 เราได้เรียนคำว่า YÔDA ซึ่งเป็นการพูดแบบเป็นกันเองของ YÔDESU คำนี้คล้ายกับ DESHÔ สองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร ลองเปรียบเทียบตัวอย่างต่อไปนี้ KARE WA IKU YÔDESU แปลว่า “ดูเหมือนเขาจะไปครับ” และ KARE WA IKU DESHÔ แปลว่า “เขาคงจะไปครับ”
ตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า ใช้ YÔDESU หรือ YÔDA เมื่อผู้พูดตัดสินโดยพิจารณาจากสถานการณ์แวดล้อม และใช้ DESHÔ เมื่อคาดเดาเกี่ยวกับอนาคต
*ออกจากเว็บไซต์ของ NHK