เอ็นเอชเค เวิลด์ > มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ > หน้าแรกภาษาไทย > ครูสอนภาษาญี่ปุ่น > คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม (บทเรียนที่ 40)

ครูสอนภาษาญี่ปุ่น

คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม (บทเรียนที่ 40)

คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีรูปแบบการผันของตัวเอง “กลุ่ม 1” คือ คำกริยาที่มีสระ I ในพยางค์ที่นำหน้า MASU เช่น KAKIMASU แปลว่า “เขียน” ตัวอย่างเช่น เมื่อผันคำกริยาในกลุ่มนี้ พยางค์หน้า MASU จะเปลี่ยนไป

ไปผันรูปพจนานุกรมของคำกริยา KAKIMASU ที่แปลว่า “เขียน”
ในกรณีนี้ เปลี่ยน KI ในพยางค์หน้า MASU เป็น KU และพูดว่า KAKU

ถ้าจะผันเป็นรูป TA รูปอดีตหรือรูปสมบูรณ์ เปลี่ยน KI เป็น I และพูด ว่า KAITA แปลว่า “เขียน”

เราได้เรียนรูปแบบการผันพยางค์หน้า MASU ผ่านเสียงเพลงใน
บทเรียนที่ 12 กันไปแล้ว กลับไปทบทวนกันดูอีกครั้ง

ต่อไป “กลุ่ม 2” คือ คำกริยาที่มีสระ E ในพยางค์หน้า MASU เช่น TABEMASU แปลว่า “กิน” การผันคำกริยานี้ให้อยู่ในรูปพจนานุกรม เปลี่ยน MASU เป็น RU และพูดว่า TABERU

สำหรับการผันให้อยู่ในรูป TA เปลี่ยน MASU เป็น TA และพูดว่า TABETA แปลว่า “กิน” ใน “กลุ่ม 2” มีคำกริยาบางตัวที่มีสระ I
ในพยางค์หน้า MASU เช่น MIMASU แปลว่า “ดู” แต่มีคำกริยา
แบบนี้เพียงไม่กี่คำเท่านั้น

“กลุ่ม 3” มีคำกริยา 2 คำ คือ SHIMASU แปลว่า “ทำ”
และ KIMASU แปลว่า “มา” คำกริยาสองคำนี้ผันแบบพิเศษ แต่มี
เฉพาะคำกริยา 2 คำนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น กรุณาจำการผัน 2 คำนี้ไว้

รูปพจนานุกรมของ SHIMASU แปลว่า “ทำ” คือ SURU และรูป
TA คือ SHITA

รูปพจนานุกรมของ KIMASU แปลว่า “มา” คือ KURU ส่วน
รูป TA คือ KITA

เรามีตารางแสดงรูปแบบการผันคำกริยารูป TE และรูป NAI แสดงบน
เว็บไซต์ของเรา กรุณาไปที่“ข้อมูลเสริมการเรียน”
*ออกจากเว็บไซต์ของ NHK