เอ็นเอชเค เวิลด์ > มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ > หน้าแรกภาษาไทย > ครูสอนภาษาญี่ปุ่น > สำนวนถูกกระทำ (บทเรียนที่ 23)

ครูสอนภาษาญี่ปุ่น

สำนวนถูกกระทำ (บทเรียนที่ 23)

ใช้สำนวนถูกกระทำเมื่อพูดจากมุมมองของคนที่ถูกกระทำ ซึ่งก็คือมุมมองของผู้รับการกระทำนั่นเอง เราใช้กริยารูปถูกกระทำ และบ่งชี้ว่าใครเป็นผู้กระทำกริยานั้นด้วยคำช่วย NI ต่อไปเป็นวิธีการผันคำกริยารูป MASU ไปเป็นรูปถูกกระทำ อันดับแรก คือ คำกริยาที่มีสระในพยางค์หน้า MASU ลงท้าย
ด้วย E ให้เติม RARE แล้วตามด้วย MASU เพราะฉะนั้น
คำกริยา TABEMASU (กิน) ผันเป็น
TABERAREMASU แปลว่า “ถูกกิน”

อันดับต่อไปเป็นคำกริยาที่มีสระ I ในพยางค์หน้า MASU คำกริยาเหล่านี้ มีสองรูปแบบ

สำหรับในกรณีของ SHIKARIMASU (ดุ) ให้เปลี่ยน RI หน้า MASU ไปเป็น RA และเติม RE ดังนั้น จะกลายเป็น SHIKARAREMASU แปลว่า “ถูกดุ” SHIMASU (ทำ) กลายเป็น SAREMASU หมายถึง “ถูกกระทำ”

อีกรูปแบบหนึ่ง เติม RARE หน้า MASU
MIMASU (ดู) กลายเป็น MIRAREMASU หมายถึง “ถูกดู” มีคำกริยาที่ผันแบบพิเศษ คือ KIMASU (มา) กลายเป็น KORAREMASU หมายถึง “ถูกมาเยือน” กรุณาจำคำที่ผันแบบพิเศษเหล่านี้เป็นกรณี ๆ ไป
เข้าไปที่ "ข้อมูลเสริมการเรียน"
*ออกจากเว็บไซต์ของ NHK