บทเรียนที่ 8
ขออีกครั้งค่ะ

แอนนากำลังนั่งเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของศาสตราจารย์ซุซุกิที่มหาวิทยาลัย
ประโยคสำคัญ:
MÔICHIDO ONEGAI SHIMASU
บทสนทนา
先生 | みなさん、これを覚えてください。 試験によく出ます。 |
ทุกคน กรุณาจำนี่ ออกข้อสอบบ่อยครับ
|
---|---|---|
อาจารย์ | MINASAN, KORE O OBOETE KUDASAI. SHIKEN NI YOKU DEMASU. ทุกคน กรุณาจำนี่ ออกข้อสอบบ่อยครับ
|
|
学生 | えっ。 | เอ๊ะ
|
นักศึกษา | E'.
เอ๊ะ
|
|
アンナ | 先生、もう一度お願いします。 | อาจารย์คะ ขออีกครั้งค่ะ
|
แอนนา | SENSEI, MÔICHIDO ONEGAI SHIMASU.
อาจารย์คะ ขออีกครั้งค่ะ
|
หลักไวยากรณ์
รูป TE ของคำกริยา
เมื่อใช้คำกริยาตรงกลางประโยค กล่าวคือเมื่อเติมคำอื่น ๆ ตามหลังกริยาเหล่านั้น จะใช้กริยารูปที่ผันแล้ว คำกริยาที่ผันลักษณะที่จะลงท้ายด้วย TE เรียกว่า “คำกริยารูป TE"
e.g.) OBOEMASU (จำ) ผันเป็น OBOETE
กรุณาไปที่ "ข้อมูลเสริมการเรียน"
ครูสอนภาษาญี่ปุ่น
คำกริยารูป TE + KUDASAI
เมื่อขอให้ใครทำอะไรในภาษาญี่ปุ่น ใช้คำกริยารูป TE และตามด้วยคำว่า KUDASAI (กรุณา) คำกริยารูป TE คือ คำกริยาที่ผันแล้วลงท้ายด้วย TE หรือ DE
คำเลียนเสียงและท่าทาง
ใจเต้นตึ้กตั้ก
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีคำเลียนเสียงธรรมชาติและท่าทางอยู่มากมาย คำลักษณะนี้ได้รับการอธิบายผ่านเสียง โดยครอบคลุมคำหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสียงร้องของสัตว์ไปจนถึงคำแสดงความรู้สึก
บันทึกของแอนนา
ดิฉันได้ข่าวมาว่า เราจะมีสอบย่อย ๆ นอกเหนือไปจากสอบไล่นะคะ อยากทราบว่าจะสอบย่อยเมื่อไร ดิฉันรู้สึก DOKI DOKI
