เอ็นเอชเค เวิลด์ > มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ > หน้าแรกภาษาไทย > รายชื่อบทเรียนทั้งหมด > บทเรียนที่ 46

บทเรียนที่ 46

มีความสุขที่ได้เห็นหิมะก่อนกลับประเทศค่ะ

หลังจากงานวันเกิดแอนนา เค็นตะส่งแอนนากลับหอพัก ตอนที่สองคนเดินออกไป ปรากฏว่าคืนนั้นหิมะเริ่มตกลงมา

บทเรียนที่ 46 (10 นาที)

ประโยคสำคัญ:

KIKOKU SURU MAE NI, YUKI O MIRU KOTO GA DEKITE SHIAWASE DESU

บทสนทนา

アンナ もしかして、雪? อาจจะหิมะตกเหรอ
แอนนา MOSHIKASHITE, YUKI?
อาจจะหิมะตกเหรอ
健太 これは、粉雪。
粉のようにさらさらしているでしょ。
นี่ละอองหิมะ
เบา สาก คล้ายแป้งใช่ไหม
เค็นตะ KORE WA, KONAYUKI.
KONA NO YÔ NI SARASARA SHITEIRU DESHO.
นี่ละอองหิมะ เบา สาก คล้ายแป้งใช่ไหม
アンナ 帰国する前に、雪を見ることができて幸せです。 มีความสุขที่ได้เห็นหิมะก่อนกลับประเทศค่ะ
แอนนา KIKOKU SURU MAE NI, YUKI O MIRU KOTO GA DEKITE SHIAWASE DESU.
มีความสุขที่ได้เห็นหิมะก่อนกลับประเทศค่ะ

หลักไวยากรณ์

  NO YÔ NI

NO YÔNI หมายถึง “คล้าย”
e.g.) KONA  NO  YÔNI แปลว่า “คล้ายแป้ง”

ครูสอนภาษาญี่ปุ่น

คำกริยารูปพจนานุกรม + MAE NI
MAE NI แปลว่า "ก่อน” คือคำพูดที่เน้นว่าทำอะไรก่อนทำอย่างอื่น ใช้คำกริยารูปพจนานุกรมนำหน้า MAE NI (ก่อน) ถึงแม้ว่าทั้งประโยคอยู่ในรูปอดีต เช่น จะพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นว่าอย่างไร ถ้าจะพูดว่า “ล้างมือก่อนกินข้าวค่ะ” คำว่า “ข้าว” คือ GOHAN “กิน“ คือ TABEMASU รูปพจนานุกรม คือ TABERU คำว่า “มือ” คือ TE “ล้าง” คือ ARAIMASU และรูปอดีต คือ ARAIMASHITA ดังนั้น ถ้าแต่งประโยค จะพูดว่า GOHAN O TABERU MAE NI, TE O ARAIMASHITA

คำเลียนเสียงและท่าทาง

หิมะตก
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีคำเลียนเสียงธรรมชาติและท่าทางอยู่มากมาย คำลักษณะนี้ได้รับการอธิบายผ่านเสียง โดยครอบคลุมคำหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสียงร้องของสัตว์ไปจนถึงคำแสดงความรู้สึก

บันทึกของแอนนา

ละอองหิมะ คือ KONAYUKI ส่วนหิมะแฉะ ๆ เรียกว่า BOTANYUKI BOTAN คือ ชื่อดอกโบตั๋น คนมักพูดว่า ปุยหิมะใหญ่ ๆ ดูราวกับกลีบดอกโบตั๋นสีขาว

Anna

รายชื่อบทเรียนทั้งหมด

*ออกจากเว็บไซต์ของ NHK